ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักกาด ผักกาดขาว
ผักกาด ผักกาดขาว
Brassica rapa L. (Syn. Brassica chinensis L.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Brassicaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Syn. Brassica chinensis L.)
 
  ชื่อไทย ผักกาด ผักกาดขาว
 
  ชื่อท้องถิ่น - บะบุ๊กว่า(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักกาด(คนเมือง) - ผัดกาดใบ (กลาง) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก, ลำต้นตั้งตรง.
ใบ เป็นใบเดี่ยว, เรียงสลับกัน, ใบที่อยู่โคนต้นมีขนาดกว้างกว่าใบที่อยู่ตอนบน; ใบกว้าง 6 – 12 ซม., ยาว 20 – 50 ซม.; ขอบใบเรียบ, เนื้อใบบาง, สีเขียว, มีขนบ้างประปราย; ผิวเป็นมัน; ก้านใบสีขาว, เป็นกาบใหญ่.
ดอก ออกเป็นช่อตรง, ยาวประมาณ 1 ซม.; กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ; กลีบดอก 4 กลีบ, สีเหลืองอ่อน, โคนกลีบสอบแคบจนดูคล้ายก้าน; เกสรผู้ 6 อัน, 4 อันยาวอยู่วงในและ 2 อันสั้นอยู่วงนอก; อับเรณูมี 2 ช่อง, เมื่อแก่จะแตกตามยาว; รังไข่มี 2 ช่อง, เชื่อมติดกัน, ท่อรับไข่สั้น, ปลายแยกเป็น 2 แฉก.
ผล เป็นฝัก, ยาว 3 – 6 ซม., ปลายเป็นจงอยยาว, แต่สั้นกว่าตัวผล, แก่จัดจะแตกออก 2 ข้าง, เมล็ดกระจายได้ไกล.
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว, เรียงสลับกัน, ใบที่อยู่โคนต้นมีขนาดกว้างกว่าใบที่อยู่ตอนบน; ใบกว้าง 6 – 12 ซม., ยาว 20 – 50 ซม.; ขอบใบเรียบ, เนื้อใบบาง, สีเขียว, มีขนบ้างประปราย; ผิวเป็นมัน; ก้านใบสีขาว, เป็นกาบใหญ่.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตรง, ยาวประมาณ 1 ซม.; กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ; กลีบดอก 4 กลีบ, สีเหลืองอ่อน, โคนกลีบสอบแคบจนดูคล้ายก้าน; เกสรผู้ 6 อัน, 4 อันยาวอยู่วงในและ 2 อันสั้นอยู่วงนอก; อับเรณูมี 2 ช่อง, เมื่อแก่จะแตกตามยาว; รังไข่มี 2 ช่อง, เชื่อมติดกัน, ท่อรับไข่สั้น, ปลายแยกเป็น 2 แฉก.
 
  ผล ผล เป็นฝัก, ยาว 3 – 6 ซม., ปลายเป็นจงอยยาว, แต่สั้นกว่าตัวผล, แก่จัดจะแตกออก 2 ข้าง, เมล็ดกระจายได้ไกล.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม รับประทานสดกับ น้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบและลำต้น ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด ต้ม แกงหรือจอ(คนเมือง)
- ใบ กินได้มีปริมาณวิตามินต่าง ๆ มาก, ชาวจีนใช้ใบแห้งเข้าเครื่องยาเพื่อแก้บิด แก้ปวดข้อ และลดอาการบวมอักเสบต่าง ๆ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง